วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ปริญญาตรี เทียบ ปวส

คำว่า "ที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน" แปลตรงตัวก็คือ ระดับเดียวกัน ไม่สามารถแปลเหมาไปถึงระดับ สูงกว่า หรือ ต่ำกว่า ได้

แล้วกรณีไหน ถึงเอาวุฒิสูงกว่า มาสมัครในตำแหน่งที่รับวุฒิที่ต่ำกว่าได้ ลองดูข้อความต่อไปนี้นะครับ

- ถ้าในประกาศใช้คำว่า
  ได้รับวุฒิ (ประกาศนียบัตรฯ, ปริญญาฯ) หรือคุณวุฒิอย่างอื่น ที่เทียบได้ในระดับเดียวกัน จะไม่รับวุฒิสูงกว่าที่ประกาศ

- ถ้าในประกาศใช้คำว่า
  ได้รับวุฒิ (ประกาศนียบัตรฯ, ปริญญาฯ) หรือคุณวุฒิอย่างอื่น ที่เทียบได้ไม่ต่ำกว่านี้ จะรับวุฒิอะไรก็ได้ที่ไม่ต่ำกว่าที่ประกาศ


--------------------

ปวท. ย่อมาจาก ประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค

วุฒิการศึกษา ปวท.นั้น เป็นวุฒิการศึกษาในระดับอนุปริญญา โดยที่ผู้ที่จะได้รับวุฒิ ปวท.จะต้องเป็นผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมปลาย (ม.6) แล้วมาศึกษาต่อในสายอาชีพอีก 2 ปี ซึ่งคุณวุฒินี้เทียบเท่ากับวุฒิ ปวส. หรือ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงนั่นเอง

ผู้ที่ได้รับวุฒิ ปวท. สามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีได้เช่นเดียวกับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. โดยจะใช้เวลาในการเรียนปริญญาตรี 2 ปี เช่นเดียวกัน

วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

การปรับเงินเดือนตามวุฒิ

กรณีตำแหน่งสายวิชาการ (ตำแหน่งปริญญาตรี) หากได้รับวุฒิเพิ่มขึ้นในระดับปริญญาโท (ตรงกับสายงาน) จะต้องครองตำแหน่งที่แต่งตั้งโดยวุฒิ ป.ตรี ไม่น้อยกว่า 1 ปี

อ้างอิง มท0809.5/ว50 30 ตุลาคม 2558
https://drive.google.com/file/d/0B4BFKxg00LuTMmFESWVqdXN0Wkk/view?usp=sharing

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ลำดับชั้นตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่ง มงกุฎไทย พ.ศ. ๒๕๓๖ เรียงลำดับการขอพระราชทานตั้งแต่ชั้นตราเริ่มต้นไปจนถึงชั้นตราสูงสุด รวม ๑๖ ชั้นตรา คือ

        ระดับชั้นต่ำกว่าสายสะพาย
    - ชั้นที่ ๗ : เหรียญเงินมงกุฎไทย (ร.ง.ม.)
    - ชั้นที่ ๗ : เหรียญเงินช้างเผือก (ร.ง.ช.)
    - ชั้นที่ ๖ : เหรียญทองมงกุฎไทย (ร.ท.ม.)
    - ชั้นที่ ๖ : เหรียญทองช้างเผือก (ร.ท.ช.)
    - ชั้นที่ ๕ : เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.)
    - ชั้นที่ ๕ : เบญจมาภรณ์ช้างเผือก (บ.ช.)
    - ชั้นที่ ๔ : จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย (จ.ม.)
    - ชั้นที่ ๔ : จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.)
    - ชั้นที่ ๓ : ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
    - ชั้นที่ ๓ : ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
    - ชั้นที่ ๒ : ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
    - ชั้นที่ ๒ : ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)

        ระดับชั้นสายสะพาย
    - ชั้นที่ ๑ : ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
    - ชั้นที่ ๑ : ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
    - ชั้นสูงสุด : มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
    - ชั้นสูงสุด : มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2561

อากรแสตมป์พนักงานจ้าง

การจ้างพนักงานจ้างตามวิธีการปกครองไม่ต้องติดอากรแสตมป์และหากเป็นการจ้างเหมาบริการจะต้องติดอากรแสตมป์

วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2561

หนังสือรับรองการศึกษา


หนังสือรับรองการศึกษาใช้สมัครงาน กรณีนักศึกษาจบใหม่ หรือยังไม่ได้ใบปริญญา
จากการที่มีนักศึกษาจบใหม่ และยังไม่ได้ใบรับปริญญามาสมัครงาน มักมีปัญหาในเรื่องหนังสือรับรองการสำเร็จศึกษานั้น
ขอชี้แจงทำความเข้าใจดังนี้
          ในส่วนเอกสารที่ต้องนำมายื่น มักเกิดปัญหาบ่อย ในส่วนของสำเนาวุฒิการศึกษา
สำเนาวุฒิการศึกษา นั้นก็หมายถึง สำเนาใบปริญญานั้นเองครับ
           หากกรณีผู้สมัครงานยังไม่ได้ใบรับปริญญา สามารถใช้หนังสือรับรองการศึกษาแทนได้
โดย หนังสือรับรองนั้นต้องระบุข้อความที่สื่อถึงการสอบไล่ได้ทุกกระบวนวิชาตามหลักสูตรปริญญา และมีวันที่สำเร็จการศึกษา
ยกตัวอย่าง กรณีเป็นนักศึกษา ม.อ.
           ให้ ขอหนังสือรับรองที่มีวันที่จบ และมีคำว่า “ขณะนี้กำลังรอการอนุมัติปริญญาจากสภามหาวิทยา...”
นั้นก็คือ เกรดออกครบทุกวิชาแล้ว และได้รับการตรวจสอบแล้วว่าศึกษารายวิชาต่าง ๆ ครบตามหลักสูตรกำหนด
อยู่ระหว่างสภามหาวิทยาลัยลงนามอนุมัตินั้นเอง
           ส่วน หนังสือรับรองที่ระบุว่า “คาดว่าสำเร็จการศึกษา...” หรือ “อยู่ในภาคการศึกษาสุดท้าย...” หรือ “รอผลสอบ...”
หนังสือเหล่านี้ใช้ไม่ได้ครับ เพราะแสดงว่ายังไม่สำเร็จการศึกษา
ทั้งนี้หากได้รับการคัดเลือกให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติงาน เมื่อรายงานตัวเข้าปฏิบัติงาน วันที่ลงนามในใบปริญญาต้องเป็นวันที่ก่อนรายงานตัวเข้าปฏิบัติงาน และมีหนังสือรับรองสำเร็จการศึกษาแล้วด้วย มิฉะนั้นเป็นอันโมฆะ
ว่าที่ร้อยตรี นูรุดดีน มูลทรัพย์
นักวิชาการอุดมศึกษา
ปรับปรุงเนื้อความ 24 พฤษภาคม 2559

ผู้เขียน: 

นูรุดดีน มูลทรัพย์

ปล.บทความ คัดลอกมาจากเว็ป http://personnel.pn.psu.ac.th/knowledge/313
เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้และเป็นแนวทางเท่านั้น


วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2561

การเลื่อนตำแหน่งครู

พ้นเตรียมความพร้อมพัฒนาอย่างเข้ม
จาก ครูผดด หรือครูผู้ช่วย แต่งตั้งให้เป็นครู มีผลถัดจากครบ 2 ปี
---------------------
จากครู เลื่อนวิทยฐานะเป็น ครูชำนาญการ  ยื่นรอบ เมย61 มีผล 1พค61
การออกคำสั่งให้รอแจ้งเป็นทางการตามระเบียบสารบัญ
เพราะต้องมีเอกสารแจ้งให้ครูทราบเป็นหลักฐาน ไว้
สำหรับการยื่นวิทยฐานะรอบต่อไปภายใน 1 ปีนับแต่รับทราบครับ

Cr. หัวหน้าเกษม พงษ์เสน่ห์

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การเลื่อนชำนาญงาน

เนื่องจากขณะนี้การเลื่อนระดับในระบบแท่งหลายท่านสับสนกันเยอะ เพราะเงื่อนไขบอกว่าให้นำแนวทางเดิมมาใช้โดยอนุโลม ใช้ได้ทุกข้อไหม ต้องวิเคราะห์กันให้ดีๆ นะครับ ซึ่งประเด็นนี้เคยอธิบายไว้ครั้งหนึ่ง ขอยกมาให้อ่านอีกครั้งนะครับ
สำหรับในการเลื่อนระดับในระบบแท่งจะมีหลักการและแนวทางที่จะพิจารณาเกณฑ์เบื้องต้น ดังนี้ ซึ่งคล้ายๆ ระบบซี พอสมควร ในระบบซีจะมีเงื่อนไขที่สำคัญอยู่ 3 ข้อ ซึ่งแนวทางที่เอามาปรับใช้คือการเลื่อนนอกระดับควบนั่นละครับ โดยระบบซีก็จะมี
1. จะต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง เช่น ดำรงตำแหน่งระดับ 5 มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี อะไรแบบนี้
2. จะต้องมีระยะเวลาขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่งหรือเคยดำรงตำแหน่งตามสายงานกรณีมีวุฒิ ป.ตรี 6 ปี ป.โท 4 ปี แบบนี้
3. จะต้องได้รับเงินเดือนในปีงบประมาณที่แล้วมาไม่ต่ำกว่า ท 5 ขั้น 3 เป็นต้น
แล้วระบบแท่งเราจะพิจารณาระดับการดำรงตำแหน่ง เงินเดือนกันอย่างไร เกณฑ์เบื้องต้นพิจารณา ดังนี้ครับ
1. จะต้องมีระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งและระยะเวลาการขั้นต่ำในการดำรงตำแหน่งตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ตรงนี้พิจารณาอย่างไรกันี่ื ประเด็นนี้มันคือการรวมกันของข้อ 1 และ 2 ในระบบซี เป็นข้อเดียวซึ่งอยู่ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งหมดแล้ว เดิมจะแยกกันคนละข้อ รวมที่มาตรฐานกำหนดตำแหน่งหมด ดังนั้น สำหรับข้อนี้ดูที่มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง คือ ดำรงตำแหน่งในระดับปฏิบัติงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 ปี สำหรับผู้มีวุฒิ ปวช. 5 ปี สำหรับ สำหรับ ปวท. 4 ปี สำหรับ ปวช. นี่คือทั่วไป ส่วนวิชาการก็ดูในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งนะครับ 6 ปี สำหรับผู้มี ป.ตรี 4 ปี สำหรับผู้มี ป.โท เป็นต้น ส่วนวุฒิจะมีเมื่อไรตอนไหนตอนจะเลื่อนขอให้วุฒิตรงระยะเวลาการดำรงตำแหน่งก็ให้อพิจารณาคุณวุฒิปัจจุบันที่ตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเป็นหลักนะครับ
2. แล้วเงินเดือนละดูตรงไหนเมื่อไม่มี ท5 ขั้น 3 แล้ว อันนี้ข้อนี้กำหนดไว้ก็แทบไม่เป็นประโยชน์สำหรับตำแนหน่งประเภทวิชาการ เพราะเงินเดือนแรกบรรจุก็เกินหมดแล้ว (15,060 ขั้นต่ำชำนาญการ 15,050) แต่หากจะพิจารณาในระบบแท่งดูว่าเงินเดือนถึงขั้นต่ำในอันดับที่จะเลื่อนแล้วหรือยัง จะเลื่อนปฏิบัติการไปชำนาญการเงินเดือนแตะขั้นต่ำชำนาญการแล้วหรือยัง แต่หากแท่งทั่วไปเลื่อนจากปฏิบัติงานเป็นชำนาญงาน เงินเดือนต้องพิจารณาให้ดี เพราะสูงพอสมควรนะครับครับ
3. และสิ่งที่จะลืมไม่ได้สำหรับการเลื่อนระดับคือวินัยด้วย คือจะต้องไม่โดนโทษทางวินัยที่สูงกว่าภาคทัณฑ์ เพราะหากโดนวินัยสูงกว่าภาคทัณฑ์ย่อมไม่ได้รับเลื่อนขั้นเงินเดือน เมื่อไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนย่อมไม่มีสิทธิเลื่อนระดับ 
ดังนั้น จึงขอสรุปุคร่าวๆ เท่านี้นะครับสำหรับการเลื่อนระดับในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน รายละเอียดค่อยเพิ่มไปเรื่อยๆ ครับ

Cr : ปิยะ คังกัน

สรุป การเลื่อนชำนาญงานเงินเดือนต้องแตะขั้นต่ำครับ

หลักเกณฑ์การเลื่อนที่ต้องพิจารณา

1. วุฒิการศึกษาที่ตรงตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง
2. ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งนั้นๆ หรือตำแหน่งที่เกื้อกูล  (ปวส.ขึ้นไป = 4 ปี , ปวท. = 5 ปี , ปวช. = 6 ปี)
3. เงินเดือนถึงขั้นต่ำของระดับชำนาญงานตามบัญชี 5 = 13,470.- บาท